[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 

  

ข่าวประชาสัมพันธ์
ประกันคุณภาพ : วัฒนธรรมคุณภาพ Quality Culture

เสาร์ ที่ 12 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2555




ประกันคุณภาพ : วัฒนธรรมคุณภาพ Quality Culture

          หากว่าในองค์กร หรือหน่วยงานนั้นเข้าใจว่า การทำงานเชิงระบบ มีการตรวจสอบและติดตาม ประเมินผล และมีการพัฒนาการทำงานอย่างต่อเนื่อง มีการบูรณาการการทำงานให้ทันกับยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มีระบบการจัดการข้อมูลที่ดี ก็จะทำให้หน่วยงานนั้นพัฒนา และได้เปรียบหน่วยงานอื่นๆ การจะเปลี่ยนวิถีการทำงานของคน ย่อมจะถูกต่อต้านและไม่ยอมรับเป็นธรรมดา เนื่องจากเขามองว่าการทำงานที่เป็นปัจจุบันก็ดีอยู่แล้ว ทำงานได้อยู่แล้ว จะเปลี่ยนไปทำไม เป็นการเพิ่มภาระการทำงานให้เขาที่จะต้องมาปรับตัวให้เข้ากับการทำงานในรูปแบบใหม่ ซึ่งหากทุกคนคิดเช่นนี้แล้ว เราก็จะไม่ก้าวหน้าและพัฒนาเมื่อเปรียบเทียบกับหน่วยงานใหม่ๆ ที่มีการปรับวิธีการทำงานไปแล้ว
 
          แต่เราจะทำอย่างไรให้การประกันคุณภาพการศึกษาพัฒนาไปเป็นวัฒนธรรมคุณภาพ (quality culture)ในการทำงานของหน่วยงานนั้นเป็นเรื่องที่ยากและท้าทายสำหรับผู้บริหารอย่างยิ่งในการที่จะขับเคลื่อนและเอาจริงเอาจัง เรามาดูว่า วัฒนธรรมคุณภาพ ทำงานกันอย่างไร
          ปัจจุบันวัฒนธรรมการทำงานของคนไทยโดยภาพรวมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่เป็นอุปสรรคต่อ การพัฒนาเปลี่ยนแปลง เช่น การทำงานไม่ค่อยวางแผน วางระบบ ทำงานไปเรื่อยๆ ไม่ค่อยมีความตื่นตัว หรือกระตือรือร้นต่อการทำงาน ไม่ค่อยรับรู้สนใจข่าวสารต่างๆ ที่ส่งผลต่อตนเอง เคยปฏิบัติอย่างไรในอดีตก็มักจะปฏิบัติแบบเดิมต่อไป ... ยังคงชอบทำงานแบบสไตล์เบิร์ด..เบิร์ด คือ สบายๆ ไม่มีการตรวจสอบ ปล่อยปะละเลย อยากทำอะไรใคร่ทำอะไรก็มักจะใช้ อิสระ หรือที่เรียกว่า "ความเป็นไท" เป็นข้ออ้าง เป็นระบบการทำงานที่ขาดการประเมินและติดตาม หรือตรวจสอบกันอย่างจริงจัง อย่างเช่น งบประมาณของประเทศมากมายที่ต้องสูญเสียไป การทำงานของหน่วยงานต่างๆ โดยขาดการประเมินและติดตามอย่างจริงจัง.. ต่อไปนี้วัฒนธรรมการทำงานน่าจะต้องคำนึงถึงคุณภาพของงานที่จะเกิดขึ้นจากผล งานด้วยน่าจะเป็นรูปแบบ หรือ แบบแผนการทำงานที่เรียกว่า "วัฒนธรรมคุณภาพ"

          คำว่า "วัฒนธรรมคุณภาพ" ในที่นี้ หมายถึง ความเชื่อ ความคิด หรือการกำหนดวิธีการทำงานโดยยึดถือ คุณภาพของงาน เป็นที่ตั้งเสมอ ระบบการทำงานที่มีคุณภาพมีรูปแบบตามวงจรของ Deming Cycle คือ Plan - Do - Check - Act (PDCA) ที่พวกเราทุกคนทราบดี
......    วงจรเดมมิ่งหรือ PDCA Cycle ภายใต้การทำงานเป็นทีมและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องใน 4 ขั้นตอนหลักของ P – D – C –A ดังต่อไปนี้
          
P–(Plan)คือ การวางแผนโดยมีวัตถุประสงค์ เป้าหมาย…แผนงาน/กระบวนการ/วิธีการ…ระยะเวลา…บุคลากรทรัพยากร / อุปกรณ์ / เครื่องมือ และงบประมาณ หรือ5W / 1H (what, where, who, when, why & how คือ ทำอะไร ทำไมจึงทำ ทำอย่างไร ทำโดยใคร ทำเมื่อไร ทำด้วยงบเท่าไร)
          
D- (Do)คือ การปฏิบัติงาน มีความเข้าใจ และทำตามแผนงานที่วางไว้ ลงมือปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
          
C- (Check)คือ การตรวจสอบมีการติดตามผลและความก้าวหน้าของงานเก็บสถิติเพื่อเป็นข้อมูลในการประเมิน และเปรียบเทียบกับแผนงานที่วางไว้
         
A- (Act) คือ การดำเนินการนำผลของการปฏิบัติงาน พร้อมข้อมูลทางสถิติ มาประเมิน และจัดทำแผนงานและคู่มือในการทำงาน กรณีที่ต้องมีการปรับปรุงแก้ไขก็ต้องกลับมาดูแผนและวิธีการทำงานเดิมก่อน แล้วจึงหาวิธีการปรับปรุงแผนงานใหม่ จนเป็นไปตามแผนจึงจะจัดทำเป็นมาตรฐานต่อไป

          การทำงานตามวงจรที่กล่าวถึง PDCA นั้นจะเป็นวัฒนธรรมการทำงานได้ จะเป็นวัฒนธรรมในหน่วยงานได้ ทุกคนต้องยอมรับและมีความเชื่อร่วมกันนะว่า ระบบหรือการปฏิบัติเช่นนี้เป็นวิธีการทำงานที่มีคุณภาพเป็น วิถีการทำงานของพวกเราและทุกคน ต้องนำไปปฏิบัติ และปฏิบัติกันอย่างจริงจัง และปฏิบัติกันอย่างต่อเนื่อง ในที่สุดแล้ว PDCA ก็จะเป็นวัฒนธรรมในการทำงานของพวกเรา รูปแบบและระบบการทำงานของพวกเราก็เรียกได้ว่าเป็น วัฒนธรรมแห่งคุณภาพ...


เข้าชม : 2925


ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

      สรุปรายงานผลการประเมินการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 17 / ม.ค. / 2562
      แนวทางการดำเนินงาน กศน.ตำบลตามดภารกิจ 4 ศูนย์สู่ กศน.ตำบล 4 G 18 / ธ.ค. / 2560
      ทำเนียบแหล่งเรียนรู้และปราชญ์ชาวบ้านด้านเศรษฐกิจพอเพียง 19 / ธ.ค. / 2559
      โปรแกรมการเรียนและแผนการลงทะเบียนเรียน 2559 19 / พ.ค. / 2559
      หลักสูตรส่งเสริมการรู้หนังสือไทย กศน.จังหวัดลำพูน พุทธศักราช 2558 15 / ม.ค. / 2559


 
สำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  จังหวัดลำพูน
ถนนลำพูน-ริมปิง ตำบลต้นธง  อำเภอเมือง  จังหวัดลำพูนโทรศัพท์ 0-5351-1295 

โทรสาร  0-5356-1255 
aramdilokrat_1@hotmail.com  pranee@lpn.nfe.go.th
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05  Update by   _SCRIPT2